ประวัติโรงเรียน


                                                                                                                                            
โรงเรียนสว่างวิทยาเดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีน โดยศาสนาจารย์ เพอซี คลาร์ค และภรรยา สัญชาติอังกฤษ เชื้อชาติอังกฤษ หลักฐานมิชชันนารี อยู่บ้านเลขที่ 1833 ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ได้จัดซื้อที่ดินหมายเลขที่ 292 มีเนื้อที่ประมาณ 296 ตารางวา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2467 เพื่อก่อสร้างเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีน ชื่อว่า โรงเรียนป่วยบุ๊น มีครูตั้งหงอเซี้ยงและภรรยา  และครูหุยเจียง แซ่โต๋ว เป็นครูสอนภาษาจีน สร้างอาคารเรียนเป็นโรงไม้ชั้นเดียวพื้นเทซีเมนต์ และได้ใช้สถานที่นี้เป็นสถานนมัสการพระเจ้าของพี่น้องชาวจีน ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ศาสนาจารย์ เพอซี คลาร์คและภรรยาได้พยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างสถานที่นมัสการนมัสการหรือโบสถ์สำหรับพี่น้องชาวจีนซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นจนสถานที่นมัสการไม่พอรองรับ จึงได้ประกาศวัตถุประสงค์นี้ทั้งภายในและต่างประเทศ มีคริสตศาสนิกชนชาวนิวซีแลนด์เป็นเกษตรกรเลี้ยงแกะ ชื่อ ยามิน เฮย์ ได้มีศรัทธาส่งเงินมาช่วย 4,000 บาท เมื่อได้รับเงินแล้วศาสนาจารย์คลาร์คได้ซื้อที่ดินปลายคลองริมถนนราชดำริห์ สร้างเป็นอาคารไม้สักชั้นเดียว พื้นปูกระเบื้อง และได้สร้างโรงเรียนสอนภาษาจีนไว้หลังโบสถ์ชื่อว่า โรงเรียนป่วยกวง เหตุที่ไม่ใช่ชื่อป้วยบุ๊นเดิมนั้นเพราะทางราชการมีระเบียบอยู่ว่า โรงเรียนสอนภาษาจีนใดถ้าถูกปิดแล้วเปิดใหม่จะใช้ชื่อเดิมและสถานที่เดิมไม่ได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างอังกฤษและอเมริกา ฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร อีกฝ่ายหนึ่งมีอิตาลี เยอรมัน รัสเซีย และญี่ปุ่นฝ่ายอักษะ ไทยถูกญี่ปุ่นบุกยึด โรงพยาบาล โรงเรียน บ้านมิชชั่น ถูกยึด ปี พ.ศ.2488 สงครามยุติโดยฝ่ายญี่ปุ่นแพ้สงคราม โรงเรียน โรงพยาบาลและบ้านมิชชั่นได้รับคืน ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2490 โรงเรียนป่วยกวงได้เปิดทำการอีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2490 ศาสนาจารย์ เพอซี คลาร์ค ได้ทำเรื่องยื่นต่อข้าหลวงจังหวัดนครปฐม เพื่อขออนุญาตเป็นเจ้าของโรงเรียน โดยมีนายแพทย์เชน ซีเต เอ็ม ดี เป็นผู้จัดการ และมี นายสุนทร สัจจพจน์ เป็นครูใหญ่คนแรก กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้โรงเรียนป่วยกวง   (แปลว่า บำรุงความสว่าง) ประเภทสามัญ รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จัดสอนวิชาสามัญตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการและเปิดสอนภาษาต่างประเทศเป็นภาษาจีน ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิม “ป่วยกวง” เป็น “สว่างวิทยา” โดยข้าหลวงประจำจังหวัดนครปฐมได้ลงนามอนุมัติเมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม 2497 อาคารเรียนเดิมเป็นทรงปั้นหยา 1 หลัง โรงไม้ทับดิน หลังคามุงจาก 1 หลัง และโรงไม้ทับดินหลังคามุงกระเบื้อง 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2504 คณะมิชชันนารีได้โอนกิจการ และทรัพย์สินของโรงเรียน ให้เป็นของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยสังกัดคริสตจักรภาคที่ 11 นครปฐม และในปีเดียวกัน ได้ซื้อที่ดินจากทางด้านตะวันตกเพิ่มขึ้นอีก 2 ไร่ เพื่อขยายอาคารและบริเวณโรงเรียนให้กว้างขึ้นออกไปอีก กันยายน พ.ศ. 2505 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกหนังสือรับรองว่า โรงเรียนสว่างวิทยา เป็นโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย สังกัดภาคที่ 11 นครปฐม โดยมีนายประยุทธ สวัสดิสิงห์ หัวหน้ากองโรงเรียนราษฎร์ เป็นผู้ลงนามในหนังสือสำคัญ ต่อมาคณะกรรมการของโรงเรียนได้มีการประชุมกัน เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ให้ถาวร ประกอบด้วยนายแพทย์เซน ซีเต เป็นประธานและมีนายโอภาส จันทร์วงค์ เป็นเลขานุการ และกรรมการจากมิชชันนารีดิไซเพิล และศิษย์เก่าทั้งหลายได้ร่วมกันจัดทุน สมทบสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นตึกที่มีขนาด 6.89 เมตร 10 ห้องเรียน อาคารเป็นคอนกรีตต่อมาวันที่ 20 เสริมเหล็กฐานแข็งแรงพอที่จะสร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องมีห้องน้ำห้องส้วมพอเพียง มีบริเวณเรียบร้อย มีสนามเด็กเล่น ประกอบด้วยสนามบาสเก็ตบอลคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 สนาม สนามหญ้า สนามเด็กเล่น ทางราชการอนุญาตให้รับนักเรียนได้ 432 คน ส่วนอาคารเก่าได้รื้อออกไป สร้างโรงอาหารและห้องครัว ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2509 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดชั้น อนุบาลปีที่ 1 และขยายถึงชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2518 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารโรงอาหารหลังใหม่ แทนหลังเดิมเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น สร้างติดต่อกับอาคารหลังเดิมที่ชำรุด ชั้นบนจัดเป็นห้องกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ในปี พ.ศ. 2529 ทางโรงเรียนได้สร้างโรงเก็บรถใหม่ แทนหลังเดิมที่ชำรุดมากโดยสร้างเป็นโรงกว้าง หลังคามุงสังกะสี 1 หลัง ปัจจุบันได้รื้อและสร้างเป็นอาคารสำนักงาน ซึ่งกำลังจะถูกรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารเรียนคอนกรีต 3 ชั้นในปี พ.ศ. 2559 นี้ หลังจากนั้นโรงเรียนได้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านอาคารสถานที่อย่างต่อเนื่อง ให้สามารถรองรับความต้องการของชุมชนและประเทศชาติ อีกทั้งให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม จนสามารถขยายการสอนวิชาภาษาจีน   ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปี พ.ศ.2541 กิจการของโรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าไปเป็นลำดับ และยังคงรักษาเอกลักษณ์ของโรงเรียนสอนภาษาจีน เป็นที่ยอมรับของชุมชน และในปี พ.ศ.2552 นางอุบล ชัยวงค์ ผู้จัดการ -     ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้นำโรงเรียนสว่างวิทยาเข้าเป็นสมาชิก กลุ่มโรงเรียนสอนภาษาจีนภาคตะวันตก           โดยผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับเลือกให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนฯ ได้ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนภาษาจีนของโรงเรียนและกลุ่มโรงเรียน ปัจจุบันโรงเรียนสว่างวิทยาอยู่ในความดูแลของสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538) มีคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาอย่างถูกต้องเป็นทางการ ได้รับการพิจารณาให้เป็นโรงเรียนน้องของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ปัจจุบันมีนางศิรินุช ตั้งสุขสันต์ เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต / ประธานกรรมการบริหารโรงเรียนและ นางอุบล ชัยวงค์ เป็นผู้จัดการ-ผู้อำนวยการโรงเรียน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น